โดย ||| กวินธร เสถียร
16 มกราคม 2558
gwyntorn@gmail.com
16 มกราคม 2558
รู้จักปัญญาชนไหม?...โอ้ย! ยุ่งๆ อยู่อย่าเพิ่งมาถาม
รู้จักปัญญาชนไหม?...รู้ ก็เธองัย ชนมันไปทุกที่
รู้จักปัญหาชนไหม?...ใช่ปัญญาชนก้นครัวหรือเปล่า
รู้จักปัญญาชนไหม? ผมตั้งคำถามและตอบตัวเองว่า น่าจะหมายถึง ผู้ที่มีปัญญา เป็นชนชั้นนำของสังคม กลุ่มอีลีท (Elite) มีการศึกษาสูงๆ หน่อย และถ้าให้ยกตัวอย่างผมคงนึกถึง ส.ศิวรักษ์ หรือ ชัยอนันต์ สมุทวณิช แต่ถามว่าถูกต้องจริงๆ ไหม ผมก็ไม่แน่ใจนัก บางคนแปลกใจในคำตอบของผม เพราะคาดหวังว่านักวิชาการจะต้องรู้ไปทุกเรื่อง โชคดีที่ผมตอบไปว่าตอนนี้ขอเป็นนักวิชาเกินก่อน เพราะบางเรื่องหากเราไม่สามารถตอบได้อย่างแน่ชัด การบอกว่าไม่รู้นั้นซื่อสัตย์และดีกว่าเอาสีข้างเขาถู เมื่อไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัด ผมคิดว่าบทความวิชาการเรื่อง "ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน" โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม [1] น่าจะให้คำตอบได้ดีที่สุด
บทความฉบับนี้ตั้งข้อสงสัยต่อข้อจำกัดและจำนวนอันน้อยนิดของการเผยแพร่องค์ความรู้ และการลงทุนด้านการวิจัยต่อการทำความเข้าใจสังคม การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ผ่านประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของผู้คนและสังคม โดยรอบอาณาบริเวณประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่เราอยู่ภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) แต่งานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ อาทิ
บนเงื่อนไขและบริบทสังคมอุษาคเนย์ ปัญญาชนในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ยืนอยู่ข้างความเป็นธรรมและความยุติธรรมทางสังคม การเมือง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงปัจจุบัน โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ
![]() |
10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ภาพจาก EU-Vietnam Business Network |
บทความฉบับนี้ตั้งข้อสงสัยต่อข้อจำกัดและจำนวนอันน้อยนิดของการเผยแพร่องค์ความรู้ และการลงทุนด้านการวิจัยต่อการทำความเข้าใจสังคม การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ผ่านประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของผู้คนและสังคม โดยรอบอาณาบริเวณประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่เราอยู่ภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) แต่งานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ อาทิ
- ความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน [2]
- โอกาสและอุปสรรคของการค้าผลไม้ ระหว่างไทย อินโดนีเซีย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน [3]
- ผลกระทบด้านการค้าและโลจิสติกส์จากการดำเนินการท่าเรือทวายประเทศสหภาพพม่า [4]
- ศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมของกลุ่มปัญญาชน นักคิดร่วมสมัยในภูมิภาคโดยเฉพาะในช่วงอาณานิคมจนถึงยุคการต่อสู้เพื่อเอกราช
- เพื่อให้เข้าใจและเปรียบเทียบพัฒนาการแห่งกระบวนทัศน์และความคิดของนักคิด ปัญญาชนร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้และนำไปสู่บทสนทนาทางปัญญา (Intellectual dialogue) ระหว่างปัญญาชนไทยกับปัญญาชนอาเซียน
บนเงื่อนไขและบริบทสังคมอุษาคเนย์ ปัญญาชนในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ยืนอยู่ข้างความเป็นธรรมและความยุติธรรมทางสังคม การเมือง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงปัจจุบัน โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ
- เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำทางความคิดและทางวิชาการทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- มีบทบาททางสังคมหรือความคิด มีผลกระทบในวงกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง
- นักหนังสือพิมพ์ นักปฏิวัติ ที่มีงานเขียนอันทรงพลัง และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดในสังคม การเมือง
![]() |
อองซาน ซูจี เลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยพม่า ภาพจาก Guardian |
อินโดนีเซีย
- กุณวรรณ มูฮัมหมัด (Goenawan Mohamad) [5]
- อองฮอกฮัม (Ong Hok Ham) [6]
- ซาร์โตโน การ์โตดิร์โจ (Sartono Kartodirjo) [7]
- เนีย ดินาตา (Nia Dinata) [8]
พม่า
- ลูดู อูฮลา (Ludu U Hla) [9]
- ตัน ทุน (Dr.Than Tun) [10]
- หล่ะเมี้ยน (Hla Myint) [11]
เวียดนาม
- เหวียน วัน จิ๋ง (Nguyen Van Chinh) [12]
- เจื๋อง จิง (Truong Chinh) [13]
ลาว
- มะยุรี เหง้าสีวัฒน์ (Mayoury Ngaosyvathn) [14]
- หุมพัน รัตนวง
มาเลย์เซีย
- ซัยยิด ฮุสเซ็น อะลาตัส (Syed Hussein Alstas) [15]
- บูร์ฮานุดดิน อัล-เฮลมี (Burhanuddin Al-Helmy) [16]
ฟิลิปปินส์
- อัมเบ็ธ อาร์ โอคัมโป (Ambeth R. Ocampo) [17]
- กิดลัต ตาฮิมิก (Kidlat Tahimik) [18]
- เรย์นัลโด อิเลโต้ (Reynaldo C. Ileto) [19]
รวมแล้ว 16 ราย ผ่านแว่นการศึกษาจาก 16 นักวิชาการไทยทั่วประเทศ อาทิ เพ็ญศรี พานิช (หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) อิสระ ชูศรี (สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล) วศิน ปัญญาวุธตระกูล (ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร) เป็นต้น
16 นักคิดนักปัญญาชนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวมา ผมต้องยอมรับโดยดุษณีว่า "แทบไม่คุ้นชื่อ ยกเว้น ลุงโฮ, สุการ์โน, ดอร์ซู, พอล พต, สีหนุ, มหาเธร์ และ อันวาร์ ซึ่งถูกต้องแล้วที่ทวีศักดิ์ เผือกสม ไม่เลือกมาศึกษา ส่วน 16 รายนามต่อมานั้นมีผ่านหูผ่านตาบ้างเพียงท่านเดียวคือ "เหวียน วัน จิ๋ง" เนื่องจากเคยอ่านงานเขียนของ อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ (นักมานุษยวิทยาที่ให้ความสนใจศึกษาด้านกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเวียดนาม) เรื่อง "เหวียน วัน จิ๋ง (Nguyễn Văn Chính): การถักทอผืนพรมแห่งผู้คนและไตศึกษาในเวียดนาม" เผยแพร่บนเว็บไซต์อาเซียนวิว (Aseanview) [20] ซึ่งเว็บไซต์นี้ยังมีงานเขียนอีกมากที่นำเสนอความรู้ทางวิชาการในภูมิภาคอินโดจีน
ผมมักได้ยินคำ 3 คำ ที่มาควบคู่กันเสมอเวลานักวิชาการกล่าวถึงอาเซียน (1) โอกาส (2) ความท้าทาย และ (3) การเปลี่ยนแปลง ในมุมมองของผม
ผมเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพสำหรับงานที่คนไทยละทิ้งไปเสียแล้ว
ผมเห็นความท้าทายที่จะกล่าว "มิงกะลาบา" เวลาเห็น ได้ยิน "หม่อง" หรือ "ด่อ" พม่าโปะทานาคาที่แก้มเป็นปื้น เดินซื้อข้าวของในเซเว่นอีเลฟเว่นหลังเลิกงาน
ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งส่วนหนึ่งได้รองรับนักท่องเที่ยวอีกมากให้ไปสัมผัสลมหนาวที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์...
![]() |
เส้นทางสาย R2 เริ่มจากดานังในเวียดนาม ผ่านเข้ามาในไทย สิ้นสุดที่เมืองเมาะละแหม่ง พม่า ภาพจาก Siamintelligence |
เมื่อโอกาส ความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงถั่งโถมโหมแรงมาเร็วขนาดนี้ เราต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเรียนรู้ ปรับตัว และอยู่รอดได้ในสังคม ผมเสนอแนะว่า ลองเลือกศึกษานักคิด นักปัญญาชนสักคนจากบทความวิชาการเรื่อง "ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน" ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557) หน้า 113-133 เพื่อที่ท่านจะได้ "รู้เขา" แล้วมองย้อนกลับมา "รู้ตัวเรา" ต่อเมื่อวันหนึ่งมีใครถามคำถามด้านล่างนี้ท่านจะได้ตอบกลับไปอย่างเต็มภาคภูมิ...
รู้จักปัญญาชนไหม?
อ้างอิง
[1] ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2557). บทนำเสนอชุดโครงการวิจัยเรื่องภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน. ชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์, 4(3), 113-136.
[3] นงนุช อังยุรีกุล และ รวิสสาข์ สุชาโต. (2555). โอกาสและอุปสรรคของการค้าผลไม้ ระหว่างไทย อินโดนีเซีย ภายมใต้กรอบประชาคมเศรษกิจอาเซียน. เว็บไซต์.
[4] บุญทรัพย์ พานิชการ. (2555). ผลกระทบด้านการค้าและโลจิสติกส์จากการดำเนินการของท่าเรือทวายประเทศสหภาพพม่า. เว็บไซต์.
[5] Ika Krismantari. (2011). Goenawan Mohamad: Seventy & still going strong. website.
[6] IISG. (1994). EV-41-008 Ong Hok Ham. website.
[7] Universitas Gadjah Mada. (no date). Pusat Studi Pedesaan dan Kawasan - UGM. website.
[8] TERUPDATE. (2014). Nia Dinata Ingin Filmkan Anak Munir Said Thalib. website.
[9] อิสระ ชูศรี. (2013). ลูดู อูฮลา (Ludu U Hla) กับพัฒนาการของสำนักพิมพ์ “ก้าวหน้า” ในพม่า. เว็บไซต์.
[10] Wikipedia. (no date). File:Dr Than Tun.jpg. website.
[11] Wikipedia. (2014). Hla Myint. website.
[12] Aseanview. (2013). เหวียน วัน จิ๋ง (Nguyễn Văn Chính): การถักทอผืนพรมแห่งผู้คนและไตศึกษาในเวียดนาม. เว็บไซต์.
[13] Wikipedia. (2011). Файл:Truong Chinh.jpg. website.
[14] Aseanview. (2013). มะยุรี เหง้าสีวัฒน์ (Mayoury Ngaosyvathn): การนิยามความเป็นลาวในประชาคมโลก. เว็บไซต์.
[15] Siapamoyanganda. (2006). PERSIDANGAN KEBANGSAAN MENGENAI DATO ONN
DISEMBER 2006. website.
[16] kapcai2bmw. (2013). Prof Dr Burhanuddin Al-Helmy. website.
[17] University of the East. (2011). Historian Ambeth R. Ocampo to speak at UE Convocation. website.
[18] Sip & Sip. (2014). CINEMALAYA HONORS KIDLAT TAHIMIK. website.
[19] Fukuoka city press office. (no date). Reynaldo C.ILETO. website.
[5] Ika Krismantari. (2011). Goenawan Mohamad: Seventy & still going strong. website.
[6] IISG. (1994). EV-41-008 Ong Hok Ham. website.
[7] Universitas Gadjah Mada. (no date). Pusat Studi Pedesaan dan Kawasan - UGM. website.
[8] TERUPDATE. (2014). Nia Dinata Ingin Filmkan Anak Munir Said Thalib. website.
[9] อิสระ ชูศรี. (2013). ลูดู อูฮลา (Ludu U Hla) กับพัฒนาการของสำนักพิมพ์ “ก้าวหน้า” ในพม่า. เว็บไซต์.
[10] Wikipedia. (no date). File:Dr Than Tun.jpg. website.
[11] Wikipedia. (2014). Hla Myint. website.
[12] Aseanview. (2013). เหวียน วัน จิ๋ง (Nguyễn Văn Chính): การถักทอผืนพรมแห่งผู้คนและไตศึกษาในเวียดนาม. เว็บไซต์.
[13] Wikipedia. (2011). Файл:Truong Chinh.jpg. website.
[14] Aseanview. (2013). มะยุรี เหง้าสีวัฒน์ (Mayoury Ngaosyvathn): การนิยามความเป็นลาวในประชาคมโลก. เว็บไซต์.
[15] Siapamoyanganda. (2006). PERSIDANGAN KEBANGSAAN MENGENAI DATO ONN
DISEMBER 2006. website.
[16] kapcai2bmw. (2013). Prof Dr Burhanuddin Al-Helmy. website.
[17] University of the East. (2011). Historian Ambeth R. Ocampo to speak at UE Convocation. website.
[18] Sip & Sip. (2014). CINEMALAYA HONORS KIDLAT TAHIMIK. website.
[19] Fukuoka city press office. (no date). Reynaldo C.ILETO. website.
[20] หน่วยวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์. (ม.ป.ป.). ชุดโครงการวิจัย “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน”. เว็บไซต์.
ขอขอบคุณ
- สุรินทร์ พิศสุวรรณ (อดีตเลขาธิการอาเซียน 1 มกราคม 2551- 1 มกราคม 2556) รุ่นพี่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช แรงบันดาลใจสำหรับบทเสนอแนะนี้
- ทวีศักดิ์ เผือกสม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร บุคคลต้นเรื่อง
- อัฉริยา ชูวงศ์เลิศ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาฯ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่อนุเคราะห์ภาพประกอบ
- วศิน ปัญญาวุธตระกูล (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่อนุเคราะห์ภาพประกอบ
- นักวิจัยร่วมในโครงการภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ทุกท่าน ทีมีส่วนเพิ่มพูนความรู้ของปัญญาชนในอาเซียน
No comments:
Post a Comment